ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (เกิดวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 (56 ปี)) อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ตั้งแต่ปี 2562 อดีตประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นศิษย์เก่าสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2524-2527 (สิงห์แดง 33) หลังจากนั้นศึกษาต่อปริญญาโทในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปี 2530-2534) และปริญญาเอก สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2546-2550) ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ มีผลงานวิทยานิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์การเมืองที่สำคัญคือเรื่อง รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ซึ่งต่อมาจะจัดพิมพ์ในชื่อ 2475 และ 1 ปีหลังการปฏิวัติ[1] อันสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการปฏิวัติ 2475 และการล้มลงของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งยังเสนอให้เห็นถึงการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ในช่วง 1 ปีหลังการปฏิวัติที่ดำเนินไปอย่างซับซ้อน และยังแสดงให้เห็นว่า การรัฐประหารครั้งแรกในการเมืองไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ก็คือ การรัฐประหารโดยพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน 2476 โดยนายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรกของไทย พระยามโนปกรณ์นิติธาดาผลงานวิชาการต่อๆ มา ยังคงเป็นการศึกษาการเมืองไทย ที่เน้นศึกษาผ่านผู้นำทางการเมืองไทย เช่น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายปรีดี พนมยงค์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร ฯลฯ ซึ่งผู้นำทหารการเมืองคนท้ายสุดนี้ ได้กลายเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในชื่อ “บทบาททางการเมืองของจอมพลถนอม กิตติขจร พ.ศ. 2506-2516” ที่เน้นศึกษากระบวนการขึ้นสู่อำนาจ การรักษาอำนาจโดยวิธีการต่างๆ และการจบจากอำนาจของผู้นำทหารคนนี้ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ในฐานะศิษย์เก่าด้านรัฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศประเภทผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประจำปี 2554 (ครบรอบ 77 ปี) ผลงานของธำรงศักดิ์ยังแสดงความผูกผันทางด้านวิชาการและความทรงจำต่อธรรมศาสตร์ ผ่านงานสำคัญ คือ ธรรมศาสตร์การเมืองไทย: จากปฏิวัติ 2475 ถึง 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519 และ ธรรมศาสตร์ Guidebook[2] ซึ่งไม่เพียงจะช่วยให้เข้าใจกำเนิดและพัฒนาการของธรรมศาสตร์ได้อย่างกว้างขวางเท่านั้น หากยังช่วยให้เข้าใจสังคมการเมืองไทยได้อย่างกระชับอีกด้วย ทั้งยังมีบทบาทเป็นหนึ่งในคณะของอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่สร้างและพัฒนา "ธรรมศาสตร์ TU Walking Tour" ให้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่เรื่องราวธรรมศาสตร์กับการเมืองไทยให้กับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ผ่านวิธีการด้านการท่องเที่ยวในท่ามกลางวิกฤตทางการเมืองของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาในช่วงต้นทศวรรษ 2550 ผลงานของธำรงศักดิ์ที่ได้ศึกษามาอย่างยาวนานราว 2 ทศวรรษ ก็ได้ช่วยกระตุ้นเตือนให้สังคมไทยพิจารณาปัญหานี้ให้ถ่องแท้รอบด้านและรอบคอบมากยิ่งขึ้น จากงานที่รวมพิมพ์เป็นเล่มในปลายปี 2552 ในชื่อ สยามประเทศไทย กับ “ดินแดน” ในกัมพูชาและลาว[3] และหนังสือวิชาการที่ให้เห็นพัฒนาการรัฐชาติไทย เรื่อง "วาทกรรมเสียดินแดน" (2560)